ราคาของคู่สกุลเงินทั้งสองนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (เพิ่มขึ้นหรือลดลง) ในกรณีที่เราให้ข้อมูลแค่ว่าตอนนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังอยู่ในขาลง อาจไม่ชัดเจนเท่ากับการที่เราบอกว่าตอนนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังอยู่ในขาขึ้นถ้าเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย แต่อยู่ในขาลงหากเทียบกับเงินยูโร เนื่องจากการซื้อขายค่าเงินมักจะกระทำเป็นคู่เสมอ เราจึงใช้เครื่องหมาย (/) ในการเปรียบเทียบค่าเงินทั้งสองสกุลซึ่งเมื่อเขียนออกมาจะได้ลักษณะดังต่อไปนี้: EUR/USD
ราคาคู่สกุลเงินสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาค่าเงินของแต่ละสกุล โดยยกตัวอย่างเช่นราคาคู่สกุลเงิน EUR/USD จะเป็นตัวแสดงว่าคุณต้องใช้เงินกี่ดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อเงิน 1 ยูโร สกุลเงินแรกคือค่าเงินหลักและสกุลเงินที่สองคือค่าเงินอ้างอิง (ค่าเงินรอง) โดยเงินยูโรถือเป็นค่าเงินหลักที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบกับค่าเงินหลักอื่นๆทั่วโลก คู่สกุลเงินหลักมีดังต่อไปนี้:
สัญลักษณ์ |
ชื่อ |
คำเรียกท้องถิ่น |
EUR/USD |
คู่สกุลเงินยูโร และดอลลาร์สหรัฐ |
เงินยูโร |
USD/JPY |
คู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยน |
สกุลเงินเยน |
GBP/USD |
คู่สกุลเงินปอนด์และดอลลาร์ |
เงินปอนด์ หรือคู่สกุลเงินปอนด์และดอลลาร์สหรัฐ |
USD/CHF |
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและฟรังก์ |
สกลุงเินจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ |
AUD/USD |
คู่สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียและดอลลาร์สหรัฐ |
สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย(aussie) |
USD/CAD |
คู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและดอลลาร์แคนาดา |
สกุลเงินดอลลาร์แคนาดา(loonie) |
NZD/USD |
สกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์และดอลลาร์สหรัฐ |
สกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์(Kiwi) |
คู่สกุลเงินหลักที่มีการซื้อขายกันในตลาด Forex อยู่ที่ราว 75 เปอร์เซ็นต์ของการเทรดทั้งหมดคือ EUR/USD, GBP/USD, USD/CHF และ USD/JPY ซึ่่งเราจะเห็นได้ว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐถูกแสดงอยู่ในทุกคู่สกุลเงิน ดังนั้นหากคู่สกุลเงินไหนมีค่าเงินดอลลาห์สหรัฐประกอบอยู่ด้วย เราก็จะถือว่าคู่สกุลเงินนั้นเป็นคู่สกุลเงินหลัก คู่สกุลเงินคู่ไหนก็ตามที่ไม่ได้มีสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐประกอบอยู่ด้วยนั้นเรียกว่าคู่สกุลเงินผสม (cross currency pairs) หรือเรียกว่าอัตราส่วนผสม (cross rates) โดยสกุลเงินที่ปรากฏอยู่ด้างล่างนี้เป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายกันอย่างแข็งขันมากที่สุด Forex
สัญลักษณ์ |
ชื่อ |
EUR/CHF |
euro-franc |
EUR/GBP |
euro-sterling |
EUR/JPY |
euro-yen |
GBP/JPY |
sterling-yen |
AUD/JPY |
aussie-yen |
NZD/JPY |
kiwi-yen |
GBP/USD
วันพุธทมิฬ หรือ Black Wednesday ในปี 1992
GBP/USD
วันพุธทมิฬ หรือ Black Wednesday ในปี 1992
ทีนี้เรามาลองพิจารณาถึงเหตุการณ์โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ของคู่สกุลเงินกันบ้าง
ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจมากที่สุดครั้งหนึ่งใน
Forex market history ือสถานการณ์ค่าเงินปอนด์ของประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 16 กันยายน ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2535 เราเรียกวันนี้ว่าวันพุธทมิฬ หรือในภาษาอังกฤษคือ “Black Wednesday” ซึ่งเป็นวันที่ค่าเงินปอนด์ตกต่ำมากที่สุด โดยดูได้จากราคาคู่สกุลเงิน GBP/DEM (เงินปอนด์อังกฤษกับเงินมาร์กเยอรมัน) และ GBP/USD (เงินปอนด์อังกฤษกับเงินดอลลาร์สหรัฐ)
ราคาเงินปอนด์อังกฤษตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ปี 2535 นั้นตกลงมาถึง 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ (จาก 2.01 ลงไปถึง 1.51 GBP/USD)
คนส่วนใหญ่พูดถึงสาเหตุการเกิดวิกฤติเงินปอนด์ ครั้งนั้นว่าเป็นเพราะการที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมกับระบบเงินตราของยุโรป โดยมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่แน่นอนเอาไว้ รวมถึงเหตุการณ์อื่นๆเช่นเพิ่งมีการเลือกตั้งรัฐสภา เหตุการณ์การลดผลผลิตทางอุตสาหกรรม เหตุการณ์ที่ธนาคารกลางของประเทศอังกฤษมีความพยายามที่จะควบคุมอัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินมาร์กเยอรมันให้มีดุลยภาพ รวมไปถึงการที่นักลงทุนจำนวนมากไหลออกจากตลาด ในขณะเดียวกันเนื่องจากความสามารถในการทำกำไรในตลาดสกุลเงินเยอรมันเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนมากกว่าตลาดสกุลเงินอังกฤษ ด้วยเหตุผลทั้งมวลที่ว่านี้นักเก็งกำไรจึงเร่งขายเงินปอนด์อังกฤษทิ้งเพื่อไปซื้อเงินมาร์กเยอรมันและดอลลาร์สหรัฐแทน โดยผลลัพธ์ของวิกฤตทางการเงินดังกล่าวมีดังนี้: อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันจาก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 15 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรยินยอมที่จะปรับลดค่าเงินปอนด์และถอนตัวจากระบบเงินตรายุโรป ท้ายที่สุดค่าเงินปอนด์ก็กลับสู่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate)เช่นเดิม
USD/JPY
วิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ในปี
USD/JPY
วิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ในปี
คู่สกุลเงินอีกคู่ที่น่าสนใจคือสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐกับเงินเยน (USD/JPY) ซึ่งถือเป็นสกุลเงินลำดับที่สามของสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุด รองจาก EUR/USD และ GBP/USD โดยคู่สกุลเงิน USD/JPY มีการซื้อขายอย่างแข็งขันที่สุดในช่วงรอบการซื้อขายในเอเชีย โดยปกติแล้วความเคลื่อนไหวของคู่สกุลเงินนี้จะเป็นไปในทิศทางที่ราบรื่น กล่าวคือคู่สกุลเงิน USD/JPY จะตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อความเสี่ยงสูงสุดในตลาดการเงินเท่านั้น ตั้งแต่ช่วงกลางยุค 80 ค่าเงินเยนเริ่มแข็งค่าขึ้นอย่างมากเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ แต่ในช่วงต้นของยุค 90 เศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นกลับชะงักตัว อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น รายได้และค่าจ้างรายวันลดลง รวมไปถึงมาตรฐานการใช้ชีวิตของคนชนบทก็ตกต่ำลงด้วย
ตั้งแต่ช่วง ปี 1980 เป็นต้นมานั้น สกุลเงินเยนได้เริ่มปรับตัวขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในช่วงต้นปี 1990 เป็นต้นมานั้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ฉุดประเทศญี่ปุ่นลง เนื่องด้วยมีการว่างงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งรายได้และค่าจ้างก็ปรับตัวลงด้วยเช่นกัน และมาตรฐานชีวิตของประชากรอีกด้วยที่ได้รับผลกระทบ
และนับตั้งแต่ต้นปี 2534 การที่เศรษฐกิจชะงักตัวเป็นตัวการที่ทำให้องค์กรทางการเงินหลายแห่งในประเทศญี่ปุ่นประสบกับภาวะล้มละลาย ท้ายที่สุดแล้วระบบการเงินในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวก็ล้มระเนระนาด เงินเยนลดค่าลง หลังจากนั้นบริษัทผู้ผลิตต่างๆก็เริ่มประสบกับภาวะล้มละลายไปตามๆกัน ในปี 2538 ก็มีการบันทึกค่าเงินต่ำสุดของคู่สกุลเงิน USD/JPY ที่ราคา -79.80
เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตทางเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540-2541 ที่จบลงด้วยการแตกตัวของเงินเยน ผลสุดท้ายคือการที่คู่สกุลเงินเยน-ดอลลาร์สหรัฐล้มระเนระนาด โดยตอนนั้นต้องใช้เงิน 115 ถึง 150 เยนในการแลกเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ
วิกฤตทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ในเกือบทุกด้าน ตลาด Forex เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แม้ว่าผู้มีส่วนร่วมในตลาด (ธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารสำหรับการลงทุน โบรกเกอร์และผู้ต่อรอง รวมทั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญ บริษัทประกันภัย และบริษัทข้ามชาติต่างๆ) จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ แต่ตลาด Forex ก็ยังดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังคงมั่นคงและสร้างผลกำไรได้มากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
วิกฤตทางการเงินครั้งนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าเงินโลกครั้งยิ่งใหญ่ ในช่วงระหว่างที่เกิดวิกฤติ ค่าเงินเยนก็เริ่มแข็งค่าขึ้นจนกลายเป็นค่าเงินที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในสายตาของนักลงทุน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอาจมาจากการที่นักลงทุนต้องการแหล่งที่พักพิงยามเกิดวิกฤตทางการเงิน ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นปฏิเสธว่าการที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นนั้นไม่ได้มาจากการซื้อขายแบบเก็งกำไรค่าเงินจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย(carry trade deals) ข้อมูลดังที่กล่าวต่อไปนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงค่าเงินของคู่สกุลเงินเยนหลักp>
คู่สกุลเงิน |
มูลค่าก่อนวิกฤต(08/2008) |
มูลค่าหลังวิกฤต (01/2010) |
เปลี่ยนเป็น % |
USD/JPY |
110.38 |
89.97 |
-18.5 |
GBP/JPY |
213.50 |
142.79 |
-33.22 |
EUR/JPY |
168.48 |
122.16 |
-27.5 |
จากตารางเราจะเห็นได้ว่าค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นกว่า 18 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.5% - เมื่อเทียบกับเงินยูโร และเพิ่มกว่า 33% - เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ โดยหากเปรียบเทียบกับค่าเงินอื่นๆแล้ว สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นสกุลเงินที่มีความแข็งค่ามากที่สุดเป็นอันดับสี่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะตามปกติแล้วสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐควรจะเป็นสกุลเงินที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในโลก แม้ว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอเมริกา การล่มของระบบเงินตราในประเทศ การทุ่มเงินกว่า 750,000 ล้านลงไปในแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของ Paulson และหนี้ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นหลักหมื่นๆล้านดอลล่าสหรัฐ อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในค่าเงินของอเมริกา ข้อมูลในตารางด้านล่างนี้เป็นข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเงินเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
คู่สกุลเงิน |
มูลค่าก่อนวิกฤต(08/2008) |
มูลค่าหลังวิกฤต (01/2010) |
เปลี่ยนเป็น % |
EUR/USD |
1.5619 |
1.4328 |
-8.3 |
USD/CHF |
1.0820 |
1.0555 |
-2.5 |
GBP/USD |
1.9774 |
1.5990 |
-19.2 |
จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่าเงินดอลลาสหรัฐเพิ่มขึ้น 8.3 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินยูโร และเพิ่ม 19.2 เปอร์เซ็นเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ โดยปัญหาค่าเงินเยนและเงินฟรังค์ตกต่ำก็หายไปด้วย โดยค่าเงินเยนเพิ่มขึ้นกว่า 18.5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เงินฟรังเพิ่ม 2.5 เปอร์เซ็นต์
หากเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ เงินยูโรมีความแข็งค่าเป็นอันดับที่12 โดยมีปัจจัยทางลบคือการที่ GDP ตกต่ำและการที่ประเทศที่มีผลผลิตมากที่สุดในโซนยุโรป (เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี) กลัวว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปเนื่องจากมีการรายงานเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน ภาวะเงินเฟ้อและหนี้ต่างประเทศก้อนใหญ่ที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปกำลังเผชิญ โดยเฉพาะประเทศโปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปนและกรีซ ซึ่งในช่วงหลัง มีบางประเทศขู่ว่าจะถอนตัวจากยูโรโซนอีกด้วย และ สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้ค่าเงินยูโรตกต่ำคือการที่นักลงทุนปฏิเสธที่จะลงทุนในสกุลเงินยูโร ทั้งนี้เพื่อที่จะไปลงทุนในสกุลเงินที่ปลอดภัยกว่า (สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยน) โดยด้านล่างเป็นตารางที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเงินเทียบกับเงินยูโร:
คู่สกุลเงิน |
มูลค่าก่อนวิกฤต(08/2008) |
มูลค่าหลังวิกฤต (01/2010) |
เปลี่ยนเป็น % |
EUR/CHF |
1.6352 |
1.4747 |
-8.8 |
EUR/GBP |
0.7900 |
0.8991 |
13.8 |
EUR/AUD |
1.6974 |
1.5658 |
-7.7 |
ในช่วงที่เกิดวิกฤติทางการเงิน ค่าเงินยูโรได้อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินหลักๆดังต่อไปนี้ อ่อนค่าลงกว่า 8.3 เปอร์เซ็นต์เทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ 27.5 เปอร์เซ็นต์เทียบกับเงินเยน 8.8 เปอร์เซ็นต์เทียบกับเงินฟรังค์ และ 7.7 เปอร์เซ็นต์เทียบกับเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เราสามารถยืนยันได้ว่าตลาด Forex นั้นไม่ได้รับผลกระทบหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกเท่าใด ไม่เหมือนตลาดหลักทรัพย์และธุรกิจอื่นๆ แต่ในทางตรงกันข้ามเรากลับได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์ดังกล่าว
ผู้มีส่วนร่วมในตลาดหลายหน่วยงานได้รับผลประโยชน์และผลตอบแทนที่น่าพอใจในช่วงระยะเวลาที่เกิดวิกฤติ นักลงทุนหลายท่านเล็งเห็นหนทางในการทำกำไรในช่วงวิกฤติจากการลงทุนในตลาด Forex ก็คงเหมือนกับที่คนจีนพูดไว้ว่าวิกฤติไม่ได้ทำให้เกิดความยุ่งเหยิงทางเศรษฐกิจและความตึงเครียดในสังคมเพียงอย่างเดียว แต่มันยังเป็นเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนและแก้ปัญหาต่างๆอีกด้วย