การคำนวณ
-
ประการแรกคือการคำนวณดัชนีขาขึ้น-ขาลง (Accumulation/Distribution index)
AD = {[(Close - Low) - (High - Close)] / (High - Low)}*Volume
-
จากนั้นเราก็ต้องคำนวณ Chaikin Oscillator.
Chaikin Oscillator = SMA(AD, m) - SMA(AD, n),
ในขณะที่ m คือตำแหน่งที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย และ n คือตำแหน่งที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
วิธีการใช้งาน
วิธีการใช้ดัชนีแบบดั้งเดิมก็คือเปิดการซื้อขายไปที่เส้น oscillator ที่ระดับศูนย์ ถ้า CHO อยู่เหนือศูนย์ นั่นบ่งบอกว่าเป็นแนวโน้มราคาขาขึ้น ในกรณีนี้แนะนำให้เปิดการซื้อ แต่ถ้าตัวบ่งชี้อยู่ต่ำกว่าศูนย์ ตามปกติแล้วจะหมายความว่าราคาน่าจะตกลงเรื่อยๆ ดังนั้น trader ก็จะรู้ว่าในอนาคตจะอยู่ในช่วงขาลง
Chaikin Oscillator สร้างเส้นสัญญาณทางเทคนิคกับราคาขาขึ้นและขาลงที่ไปในทิศทางเดียวกัน/สวนทางกัน ร่วมกับ oscillator หลักอื่นๆที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค นอกจากนี้ผู้ที่ใช้การแสดงค่านี้ต้องคำนึงถึงว่าในหลายกรณี การเบนออกและการเบนเข้าของ Chaikin index นั้นประกอบด้วยการเคลื่อนไหวแบบพลวัตอย่างต่อเนื่อง 2-3 ครั้งด้วยกัน กฎนี้จะช่วยกรองสัญญาณเดี่ยวที่มีจำนวนมาก ซึ่งตลาดจะไม่สามารถคิดคำนวณได้บ่อยนัก
วิธีที่น่าสนใจที่สุดในการใช้ CHO ก็คือโครงสร้าง การวิเคราะห์ตลาด และเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (SMA, 3)ที่ขยับ 1 บาร์ไปทางขวาตามกราฟของ Chaikin Oscillator
การใช้วิธีนี้จำเป็นจะต้องตอบสนองสถานการณ์เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เคลื่องลงล่างตัดกับเส้นดัชนีในกรณีที่ราคามีโอกาสตก และเคลื่อนที่ขึ้นบนหากราคามีโอกาสขึ้น ในกรณีนี้สัญญาณจะเป็นตัวนำ แต่ก็อาจจะผิดพลาดได้ถ้าหากเส้นสัญญาณทางเทคนิคกับราคาที่สวนทางกันและไปในทิศทางเดียวกันไม่ปรากฏใน oscillator
แม้ว่าจำนวนสัญญาณจะลดลง การใช้ตัวกรองเสริมจะช่วยให้คุณสุ่มสัญญาณได้ดีขึ้น
พารามิเตอร์ของ InstaSpot CHO Index
Slowperiod = 10
Fastperiod = 3
TypeSmooth = 0
SMAPeriod = 3
SMAshift = 1